วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 3

แบบฝึกหัดทบทวนบทที่ 2

เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย

ตอบ    ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกคือสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
           เหตุผลผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามถือเป็นฉบับแรกคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า“บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถนาประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากล       อารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า”รัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามตามความประสงค์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 และประกาศเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 49


2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย

ตอบ     หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
             มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
           
            หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
            มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ

            หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
            มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
            มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดาเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร มาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์


3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511   พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ     แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 มีความเหมือนกันค่อนข้างมาก แต่จะแตกต่างกันตรงที่ ปีพุทธศักราช 2511 ไม่ได้กล่าวถึงว่า สถานศึกษาของท้องถิ่นพึงให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้นๆ เหมือนกับปีพุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 อีกประการหนึ่งคือ ปีพุทธศักราช 2511 และ พุทธศักราช 2517 ไม่ได้ กล่าวถึงว่า การศึกษาอบรมขั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้โดยอิสระในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ แต่ในปีพุทธศักราช 2521 ได้มีการบัญญัติขึ้นเพิ่มเติม


4.  ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490   ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 25492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร  อธิบาย

ตอบ     ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 และประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517 มีความแตกต่างกันตรงที่ ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 กล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไม่มากนัก มีมาตราที่เกี่ยวข้อง เพียง 1 หมวด 1 มาตรา โดยกล่าวถึงสิทธิและเสรีภาพ ในการพูด การเขียน การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ อย่างรวมๆ แต่ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517กล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยละเอียดมากขึ้น โดยเขียนแบ่งออกเป็น 2 หมวด 5 มาตรา แต่ละมาตราจะเขียนกำกับไว้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า บุคคลจะมีสิทธิและเสรีภาพได้แค่เพียงขั้นไหน และยังได้กล่าวถึงนโยบายที่รัฐจะต้องให้การสนับสนุนทางการศึกษาเพิ่มขึ้น


5.  ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534   ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร  อธิบาย

ตอบ     ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 และประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550 มีความเหมือนกันค่อนข้างมาก แต่จะแตกต่างกันตรงที่ ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550 ได้มีการกล่าวถึงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และยังได้กล่าวถึง การส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนองค์การทางศาสนา และเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเพิ่มขึ้น


6.  เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึงอธิบาย

ตอบ     เพราะหากรัฐไม่ได้ระบุถึงการจัดการศึกษาที่เป็นธรรมและทั่วถึงแล้ว จะทำให้คนในประเทศเกิดความเหลื่อมล้ำกันทางการศึกษา ทำให้โอกาสในการได้รับการศึกษาต่างกัน คนมีอำนาจหรือมีความร่ำรวยจะได้ได้โอกาสมากกว่าคนจนหรือประชาชนธรรมดา จนอาจทำให้บุคคลกรภายในประเทศไม่มีความพร้อมสู่การพัฒนา


7.  เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด “บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น

ตอบ     เมื่อรัฐมีการกำหนดให้บุคคลทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพทางการศึกษาแล้ว รัฐจะต้องมีการกำกับเงื่อนไข และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติขึ้นควบคู่ไว้ด้วย เพื่อป้องกันการศึกษาที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกไม่ควร อันจะส่งผลกระทบต่อประเทศชาติไปในทางที่ไม่ดี หากมีบุคคลทำการศึกษาและให้ความจิงจังในการลงมือปฏิบัติ หรือการรวมกลุ่มกันเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง


8.  การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย

ตอบ     ฉบับที่ 5-10  (พ.ศ 2540-2550) และหากมีการเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น จะส่งผลให้คนในประเทศได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกัน และมีความทั่วถึงยิ่งขึ้น เพราะในส่วนของรัฐเอง คงจะไม่สามารถที่จะลงมาให้ความช่วยเหลือกับบุคคลที่อยู่ในส่วนท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่ แต่หากมีการกระจายอำนาจให้คนในพื้นที่ได้ช่วยเหลือดูแลกันในด้านการศึกษาจะทำให้บุคคลที่อยู่ในท้องถิ่นได้รับผลประโยชน์ที่ทั่วถึงมากกว่า


9.  เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน  ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย  พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว  และความเข็มแข็งของชุมชน  สังเคราะห์ผู้ยากไร้  ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส  จงอธิบาย

ตอบ     เพราะว่าเราทุกคนที่เกิดมา ไม่ว่าจะเป็นเพศชาย หรือหญิง ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาสทุกคนมีสิทธิในความเป็นมนุษย์ทุกคนสามารถพัฒนาได้ เพราะฉะนั้นทุกคนควรได้รับความเสมอภาคและการช่วยเหลือที่เท่าเทียมกันและการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสานึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย มีความรักษาสามัคคีปรองดองกัน คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


10.  ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศ อย่างไรบ้าง  จงอธิบาย
ตอบ     ในด้านการศึกษา
           1. นโยบายเรียนฟรี 15 ปี ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนในประเทศได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่ได้มีการเก็บค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด จนทำให้ประชาชนระดับรากหญ้าได้มีโอกาสและได้ศึกษาเล่าเรียน
           2. ค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์การเรียน ในแต่ละปีรัฐบาลก็จะมีค่าอุปกรณ์ให้กับนักเรียนเพื่อแบ่งเบาภาระทางบ้าน ไม่ว่าจะเป็น สมุด หนังสือเรียนฟรี และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่นๆอีกมากมาย
           3.  การมอบทุนการศึกษา ให้กับนักเรียนในโอกาสต่างๆ เช่นนักเรียนเรียนดีแต่ยากจน หรืออาจเป็นทุนสนับสนุนความเป็นเลิศของนักเรียนในแต่ละด้าน
           4. การให้การศึกษาแก่ผู้พิการเพราะทุกคนที่เกิดมามีสิทธิที่จะได้รับการศึกษาไม่เว้นแต่ผู้พิการต้องได้รับการดูแลและได้รับการศึกษาเพื่อที่จะได้นำความรู้ไปช่วยเหลือตัวเอง และในการทำอาชีพต่อไปในอนาคต


วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 2

คำถามท้ายบทที่

1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ มนุษย์เราจำเป็นต้องมีกฎหมาย เพราะว่า มนุษย์ต่างก็มาจากหลากหลายครอบครัว หลากหลายการอบรม และไม่สามารถอยู่ตามลำพังได้ จำเป็นต้องพึงพาซึ่งกันและกัน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตในแต่ละวันได้ เช่นเดียวกันกับสัตว์ชนิดต่างๆ จะต้องมีจ่าฝูง เพื่อจะได้ไม่เกิดความวุ่นวายในการอยู่ร่วมกัน และเพื่อป้องกันภัยที่จะมาถึงตัว และถ้าหากไม่มีกฎหมาย สังคมที่มนุษย์อยู่ก็จะเกิดแต่ความวุ่นวาย ไม่มีระเบียบ เกิดการต่อต้าน และไม่น่าอยู่

2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ  ผมคิดว่าสังคมปัจจุบันอยู่ไม่ได้ถ้าหากไม่มีกฎหมาย ซึ่งสังคมปัจจุบันนี้เป็นสังคมแห่งการแข่งขัน ชิงดีชิงเด่น และมีการทุจริตเยอะขึ้น ซึ่งจะส่งผลก่อให้เกิดความขัดแย้ง เกิดการทะเลาะวิวาท สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจในเสียงส่วนใหญ่ และการเห็นแก่ตัว

3. ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ตอบ      ความหมาย กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้นๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
                  ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
                ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย ประกอบด้วย 4 ประการ คือ
                        1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดอาทิ รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้
                        2. มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์ อาทิ ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ คำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมาย
                        3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้
                        4. มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้นๆ กำหนด หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้ และสภาพบังคับในทางอาญาคือ โทษที่บุคคลผู้ที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษ เช่น รอลงอาญา ปรับจำคุก กักขัง ริบทรัพย์ แต่หากเป็นคดีแพ่ง ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าเสียหายหรือชำระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทำหรืองดเว้นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามมูลหนี้ที่มีต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้
            คที่มาของกฎหมาย
                ที่มาของกฎหมายของประเทศไทย พอที่จะสรุปได้ 5 ลักษณะดังนี้
                           1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร
                           2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย
                           3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุกๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี
                           4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลังๆ ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทำไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้ อาจนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้ จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
                           5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น สมควรหรือไม่ จึงทำให้นักนิติศาสตร์ อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้ ในประเด็นที่น่าสนใจเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนดังกล่าว
          งประเภทของกฎหมาย
การแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย ขึ้นอยู่ใช้หลักใดจะขอกล่าวโดยทั่วๆ ไปดังนี้
1. กฎหมายภายใน
           1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                 1.1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลัก โดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย
                 1.1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ
           1.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                 1.2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา
                 1.2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง เช่น การกำหนดให้เป็น โมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชำระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
            1.3 กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
                  1.3.1 กฎหมายสารบัญญัติ แบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก
                  1.3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ กล่าวถึง วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ
             1.4 กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
                  1.4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน
                  1.4.2 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
2. กฎหมายภายนอก
            2.1 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน
            2.2 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ
            2.3 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอกประเทศนั้นได้

4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
 ตอบ  กฎหมายเป็นสถาบันหนึ่งภายในระบบสังคม มีหน้าที่ในการควบคุมให้สังคมดำเนินไปอย่างสงบสุข ทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย เพราะว่า ทุกประเทศมีการปกครองเป็นของตนเอง ซึ่งการที่ผู้นำประเทศจะปกครองประชาชนในประเทศนั้นได้ จำเป็นต้องมีเครื่องมือในการปกครอง นั่นก็คือกฎหมายโดยประเทศในยุโรป เช่น อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศตะวันออก เช่น ไทย ญี่ปุ่น จะใช้กฎหมายระบบซีวิลลอร์ (Civil Law System) ส่วนประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ จะใช้กฎหมายระบบคอมมอนลอร์ (Common Law System)

5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
 ตอบ  สภาพบังคับในทางกฎหมาย คือ กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ จึงจำเป็นต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์กฎหมายใดไม่มีสภาพบังคับ ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมาย

6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ตามกฎหมายอาญา สภาพบังคับก็คือการลงโทษตามกฎหมาย เช่น การจำคุกหรือการประหารชีวิต ซึ่งมุ่งหมายเพื่อจะลงโทษผู้กระทำความผิดให้เข็ดหลาบ แต่ตามกฎหมายแพ่งฯ นั้น สภาพบังคับจะมุ่งหมายไปที่การเยียวยาให้แก่ผู้เสียหายเพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด เช่น การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือการบังคับให้กระทำการตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ ฯลฯ ซึ่งบางกรณีผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายก็อาจต้องต้องถูกบังคับทั้งทางอาญาและทางแพ่งฯ ในคราวเดียวกันก็ได้

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไรจงอธิบาย
 ตอบ  ระบบกฎหมายเเบ่งออกเป็น 2 ระบบ ดังนี้    
                7.1 ระบบซีวิลลอร์   หรือระบบลายลักษณ์อักษร ถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น คาพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ 

              7.2 ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคาว่า “เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นาเอาจารีตประเพณีและคาพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้

8. ประเภทของกฎหมายมีกี่ประเภท และหลักการอะไรบ้าง แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง จงยกตัวอย่าง พร้อมอธิบาย 
 ตอบ  ประเภทของกฎหมาย ที่จะศึกษาแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ 
                1.  ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
                2.  ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
                3.  ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
          1.  ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
               1.1  ระบบลายลักษณ์อักษร ( Civil law System ) ประเทศไทยใช้ระบบนี้เป็นหลัก  กระบวนการจัดทำกฎหมายมีขั้นตอนที่เป็นระบบ มีการจดบันทึก มีการกลั่นกรองของฝ่ายนิติบัญญัติคือ รัฐสภา มีการจัดหมวดหมู่กฎหมายของตัวบทและแยกเป็นมาตรา เมื่อผ่านการกลั่นกรองจากรัฐสภาแล้ว จะประกาศใช้เป็นกฎหมายโดยราชกิจจานุเบกษา กฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
               1.2 ระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณี ( Common Law System) เป็นกฎหมาย      ที่มิได้มีการจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีการจัดเป็นหมวดหมู่ และไม่มีมาตรา หากแต่เป็นบันทึกความจำตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใช้กันต่อๆมา ตั้งแต่บรรพบุรุษรวมทั้งบันทึกคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาคดีมาแต่ดั้งเดิม ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณี หรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ประเทศอังกฤษและประเทศทั้งหลายในเครือจักรภพของอังกฤษ
         2.  ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
              2.1  กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคล กำหนด ข้อบังคับความประพฤติของบุคคลทั้งในทางแพ่งและในทางอาญา โดยเฉพาะในทางอาญา คือ ประมวลกฎหมายอาญา จะบัญญัติลักษณะการกระทำอย่างใดเป็นความผิดระบุองค์ประกอบความผิดและกำหนดโทษไว้ว่าจะต้องรับโทษอย่างไร และในทางแพ่ง   คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  จะกำหนดสาระสำคัญของบทบัญญัติว่าด้วยนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในฐานะต่าง ตามกฎหมาย เช่น นิติกรรม หนี้ สัญญา เอกเทศสัญญา เป็นต้น
             2.2  กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงวิธีการปฏิบัติด้วยการนำเอากฎหมายสารบัญญัติไปใช้ไปปฏิบัตินั่นเอง เช่น ไปดำเนินคดีในศาลหรือเรียกว่า  กฎหมายวิธีพิจารณาความก็ได้  กฎหมายวิธีสบัญญัติ    จะกำหนดระเบียบ ระบบ ขั้นตอนในการใช้ เช่น กำหนดอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ต้องหา วิธีการร้องทุกข์ วิธีการสอบสวนวิธีการนำคดีที่มีปัญหาฟ้องต่อศาล วิธีการพิจารณาคดีต่อสู้คดี ในศาลรวมทั้งการบังคับคดีตามคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา    ความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก
         3.  ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
             3.1  กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่รัฐตราออกใช้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชนการบริหารประเทศ รัฐมีฐานะเป็นผู้ปกครองประชาชนด้วยการออกกฎหมายและให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม จึงตรากฎหมายประเภทมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นส่วนรวมทั้งประเทศ และทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีผลกระทบต่อบุคคลของประเทศเป็นส่วนรวม จึงเรียกว่า กฎหมายมหาชน กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายอาญา เป็นต้น
            3.2  กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ด้วยกันเอง เป็นความสัมพันธ์ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา คือ เอกชนด้วยกันเอง รัฐไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย เพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม  จึงให้ประชาชนมีอิสระกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกรอบของกฎหมายเพื่อคุ้มครอง

9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไรมีการแบ่งอย่างไร
ตอบ  เมื่อกล่าวถึงศักดิ์ของกฎหมาย” (Hierachy of law)  อาจมีหลายคนอาจไม่เข้าใจว่าศักดิ์ของกฎหมายมีความหมายว่าอย่างไร มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหนต่อกฎหมาย โดยทั่วไปในทางวิชาการ มีผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ความหมาย ศักดิ์ของกฎหมายไว้ว่า ลำดับชั้นของกฎหมาย หรืออีกนัยหนึ่งคือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันของกฎหมายแต่ละฉบับนั้น พิจารณาได้จากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย หมายความว่ากฎหมายแต่ละฉบับจะมีชั้นของกฎหมายในระดับนั้น  ให้พิจารณาจากองค์กรที่ออกกฎหมายฉบับนั้น 
          ตัวอย่างเช่น  รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่ออกโดยองค์กรนิติบัญญัติสูงสุดของประเทศ คือ รัฐสภา  แต่บางกรณีอาจมีองค์กรอื่นเป็นผู้จัดให้มีกฎหมายในระดับรัฐธรรมนูญได้ เช่น คณะปฏิวัติออกรัฐธรรมนูญการปกครอง ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว สามารถแบ่งได้ดังนี้ 
             1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย                         
             2. พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย
             3. พระราชกำหนด                                                       
             4. ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับ
             5. พระราชกฤษฎีกา                                                      
             6. กฎกระทรวง
             7. ข้อบัญญัติจังหวัด                                                     
             8. เทศบัญญัติ
             9. ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล

10. เหตุการณ์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ลานพระบรมรูปทรงม้าและประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบแต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุมและขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบลงมือทำร้ายร่างกายประชาชนในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
ตอบ ผมคิดว่าเป็นการกระทำที่ผิด เพราะว่า ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็น ในสิ่งที่ตนเองคิด และไม่ได้ทำให้ประชาชนเดือดร้อน และอีกอย่างเป็นการชุมนุมที่สงบเพื่อเรียกร้องสิทธิของตนเอง  เพราะถ้าไม่มีการชุมนุมสิ่งที่ประชาชนต้องการหรือเดือดร้อนทางรัฐบาลจะไม่สามารถรับรู้ได้ 
         
11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่ากฎหมายการศึกษาอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ  กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาในปัจจุบัน เป็นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ..2542 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่กำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษา ถือได้ว่าเป็นกรอบเเนวทางในการปฏิบัติหรือการพัฒนาทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศึกษา การเรียนการสอน หรือด้านบุคลากรเอง หรือการจัดการอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเเละสร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ฉะนั้นกฎหมายการศึกษาจึงเปรียบเสมือนตัวขับเคลื่อนเเละกรอบเเนวทางในการปฏิบัติให้บุคคลทางการศึกษาเเละระบบทางการศึกษาควรระลึกเเละปฏิบัติในเเนวทางที่ถูกต้อง

12.  ในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษา ท่านคิดว่าเมื่อท่านไปประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไร
ตอบ  ในฐานะที่เรียนรายวิชานี้ถ้าหากเราเองไม่ทราบกฎหมายทางการศึกษาเช่น ข้อปฏิบัติของทางราชการ  ข้อละเว้นการประพฤติปฏิบัติสิ่งที่เป็นข้อห้ามสิ่งที่ไม่ชอบไม่ควร และสิ่งที่ครูต้องปฏิบัติตามความคาดหวังของสังคมในฐานะที่อาชีพครูเป็นอาชีพพิเศษที่ทำหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนจำเป็นต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อศิษย์ และสิ่งสำคัญอีกอย่างบางครั้งเราอาจกระทำการใดๆ ลงไป ที่ไม่เหมาะสมที่ส่งผลกระทบกับบุคคลอื่น ส่งผลถึงภาพลักษณ์ที่ไม่ดีของข้าราชการครู ดังนั้นจำเป็นต้องมีกฎหมายการศึกษามาเป็นกรอบเเนวทางข้อบังคับในการดำเดินงานของบุคคลากรทางการศึกษาเเละมีบทลงโทษสำหรับการทำผิดเพื่อความสงบสุขในการประกอบอาชีพรับราชการครู